navythaismart

ศูนย์รวมความรู้วิชาชีพทหารเรือไทย


ใส่ความเห็น

อย่าปล่อยให้รากแก้วอ่อนแอ

อย่าปล่อยให้รากแก้วอ่อนแอ

 นำเรื่องปลายปีที่แล้วผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านวารสาร Proceeding ฉบับเดือน ตุลาคม ของสหรัฐ ฯ เป็นบทความเรื่อง Naval Academy …A Crucible for Warriors เขียนโดย พลเรือโท (พล.ร.ท.) Jeffrey Fowler ผู้บัญชาการคนปัจจุบันซึ่งเป็นคนที่ ๖๐ เพิ่ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อ ๑ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๐๗ คือ ๔ เดือนก่อนหน้าที่บทความนี้จะได้รับการตี พิมพ์ ในวารสารที่มีชื่อเสียงของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในบทความนี้มีอยู่ประโยคหนึ่งที่สะดุดตา และสะดุดใจผู้เขียนคือ ” …a midshipman žs duty is to learn to lead sailors and Marines in combat . Everything else is secondary, optional and conditional “มีความหมายว่า ”  หน้าที่อันดับแรกของนักเรียนนาย เรือ คือ ต้องเล่าเรียนเพื่อที่จะให้นำ ทหารประจำเรือและทหารนาวิกโยธินในสนามรบได้ ทุกสิ่งทุกอย่างนอกเหนือไปจากนี้ต้องมา ทีหลัง เป็นแค่ทางเลือกและมีเงื่อนไข ”
สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนสนใจบทความของ พลเรือโท Fowler เป็นพิเศษมีเหตุผลบาง ประการ กล่าวคือ บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งได้ราว ๔ เดือน และเนื้อหาของบทความส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญของวิธีการผลิตนักเรียนนายเรือ ซึ่ง จะได้ นำเสนอบางช่วงบางตอนของบทความในอันดับต่อไปนั่นย่อมพออนุมานได้ว่าสิ่งที่เขานำ เสนอ นั้นน่าจะถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่ ในบทความเขาได้เสนอวิสัยทัศน์ สำหรับการแก้ปัญหาไว้ด้วย ประการถัดมา พลเรือโท Fowlerเป็นนายทหารเรือที่เติบโตมา จาก การทำ งานในเรือดำน้ำโดยตลอด ซึ่งก็มีผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ (ผบ.รร.นร.) หลาย คนในอดีต มาจากสายของเรือดำน้ำ และหากใครมีโอกาสศึกษา ประวัติของ โรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) Annapolis จะพบว่าการพิจารณาคัดเลือก ผบ.รร.นร. นั้น กองทัพเรือให้ความสำคัญ และ พิถี พิถันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะด้านภาวะผู้นำ การที่ พล.ร.ท. Fowler ชี้ปัญหาของ รร.นร. Annapolis ซึ่งแกนหลักของการผลิตนักเรียนนายเรือ (นนร.) อยู่ที่การสร้างภาวะผู้นำ นั่นแสดง ว่าจากการรับรู้ ( Perceive) ของเขา รร.นร. Annapolis กำลังเดินหลงทางอยู่ ซึ่ง ประเด็นนี้ ก็ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วในอดีต ผู้เขียนจะได้ชี้ให้เห็นใน โอกาสต่อไป ประการสุดท้ายในฐานะที่ผู้เขียนเคยดำรงตำแหน่ง ผบ.รร.นร.มาแล้ว เห็นว่า รร.นร.ของเราเอง มี ปัญหาทำนองเดียวกันกับ รร.นร. Annapolis และยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก มากและบางปัญหาใน ความคิดของผู้เขียนเอง รู้สึกว่าค่อนข้างสาหัสและน่าเป็นห่วงมาก ๆ เป็นปัญหาที่แก้ได้ไม่ง่าย นักและต้องใช้เวลา
อย่างไรก็ตาม อาจมีบางประเด็นในบทความนี้กระทบกระเทือนบุคคลบางคน แต่ ต้องเรียนในที่นี้ว่า ไม่ได้มีเจตนาร้ายเพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นปัญหาเพื่อ ที่ว่าผู้เกี่ยวข้องจะได้ นำไปพิจารณาแก้ไขกันต่อไป และถ้ามีประเด็นใดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็น จริงก็ขออภัย ด้วย ในบทความนี้จะแบ่งเป็นสองตอนใหญ่ ๆตอนแรกจะเป็นเนื้อหาสาระบางเรื่อง บางตอนที่ สำคัญ จากบทความของ พล.ร.ท. Fowler ส่วนตอนที่สองเป็นการนำเสนอปัญหา ของ รร.นร. รวมทั้ง ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในทัศนะของผู้เขียน ขอให้ผู้อ่านกรุณาใช้วิจารณญาณเอง
ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาสาระจากบทความ ฯ :รร.นร. Annapolis – เบ้าหลอมเพื่อ สร้างนักรบ ( Crucible for Warriors) โรงเรียนนายเรือของสหรัฐฯ ( US Naval Academy – USNA) ซึ่งต่อไปในบทความนี้จะใช้ชื่อย่อว่า USNA กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาเด็กหนุ่ม ที่ มีคุณภาพสติปัญญาสูง ( High Caliber) ให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือและ นาวิกโยธิน ปัจจุบันกองทัพสหรัฐ ฯ ต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงความเหนือกว่าข้าศึก ทั้งทางด้าน ยุทธศาสตร์ยุทธการและยุทธวิธี ดังนั้นเบ้าหลอมนายทหารเรือ จึงต้องปรับตัวและ ปรับปรุงตามไปด้วย USNA ได้รับมอบหมาย ให้แสวงหาและเปลี่ยนสภาพคนหนุ่ม ซึ่งมีความ สามารถพิเศษ ดีที่สุด และเป็นคนหนุ่มที่รักชาติ และมีความสมัครใจให้กลายเป็นนายทหาร หนุ่มชั้นผู้น้อยที่มี ประสิทธิภาพสูง เพื่อจะเป็นผู้นำของทหาร ปัญหาอยู่ที่ว่า จะใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิ ผลมากที่สุดได้อย่างไร มีการคิดค้นข้อเสนอแนะในการดำเนินการ
( Road Map) กันระหว่าง บรรดาผู้นำของ USNA ซึ่ง Road Map มุ่งเน้นไปที่แนวความ คิดหลัก ๆ อยู่ ๓ ประการด้วย กัน คือ
             – เราอาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังเผชิญกับสงคราม
             – เราต้องพัฒนานักเรียนนายเรือทุกคนทางด้านศีลธรรม สติปัญญาและร่างกาย ให้สามารถนำทหารที่สมัครใจเข้ามารับใช้ชาติ
             – เราเป็นหน้าตาของกองทัพเรือ

             ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าขณะนี้ประเทศสหรัฐ ฯ กำลัง ตกอยู่ในสภาวะสงคราม ศัตรูกำลังจ้องทำร้ายเราและพันธมิตรของเราทั้งในประเทศเราเอง และภายนอกประเทศเป็นเรื่องน่าเศร้าที่บางคนพยายามหลบออกมาจากความขัดแย้งและพวก เขาก็ลืมสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้น การโจมตีพลเรือนที่บริสุทธิ์ ยังคงเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก   ถ้าใคร
อยากรู้ผลกระทบที่เกิดจากศัตรูที่โหดร้ายแล้วล่ะก็ ขอให้ไปดูที่ Ground Zero บนเกาะแมน ฮัตตัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๑๑ กันยายน ค.ศ.๒๐๐๑ หรือเหตุการณ์ที่คนทั่วโลกรู้จัก กันดีว่า ๙๑๑
            ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีความหมายสำคัญมากต่อผู้ที่รับผิดชอบในการศึกษาอบรม นายทหารเรือรุ่นต่อ ๆ ไป สงครามนี้จะยืดเยื้อต่อไปอีกนานแสนนาน อาจถึงตลอดชีวิตรับ ราชการต่อไปข้างหน้าของนักเรียนนายเรือรุ่นปัจจุบันนี้ นักเรียนนายเรือที่กำลังจะจบภายในปี ค.ศ.๒๐๐๘ นี้ คงต้องเป็นผู้จัดการกับสงครามนี้เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นเป็นนายพล มันไม่ใช่ สงครามของหน่วยหนึ่งหน่วยใดแต่เป็นสงครามที่ทุกๆ   หน่วยของกองทัพเรือต้องมีความ สามารถและชำนาญเป็นพิเศษเมื่อเผชิญกับการสู้รบโดยตรงทั้งในอากาศ  ในทะเลและใต้ ทะเล ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมนักเรียนนายเรือของเราให้สามารถอุทิศตนและเสียสละเพื่อทำ สงครามในอนาคต 

คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ใส่ความเห็น

แหล่งพลังงานในอ่าวไทย

             มีการวิเคราะห์ว่าแหล่งพลังงานหลักของโลก โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันตะวันออก กลางจะหมดไปในระยะเวลา 30-50 ปีเท่านั้น นับว่าเวลาสั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวน การธรรมชาติที่ก่อร่างสร้างตัวให้เกิดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานอย่างมากมายในปัจจุบันข้อมูลนี้เป็นที่ทราบดีกันทั่วไปเหมือนกับกรณีภาวะโลกร้อนที่เป็นผลกระทบอีกด้านหนึ่งของการเผาผลาญทำลายทรัพยากรพลังงานธรรมชาตินี้
ประเทศตะวันออกกลางดำเนินการปรับราคาและกระบวนการผลิตน้ำมัน ให้เกิด กำไรสูงสุดก่อนที่รายได้ของพวกเขาจะหมดไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ ยุโรปสะสมน้ำมันสำรองเต็มพิกัดเพื่อป้องกันสภาวะขาดแคลนพลังงานในอนาคต กลยุทธ์ทาง การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้นจากการแสวงหาแหล่งพลังงานของโลกเปรียบเสมือนยุค การล่าอาณานิคมใหม่โดยมีพลังงานเป็นเดิมพัน
ในอดีตเคยมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีมหาศาล จนอดีตท่าน นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องกล่าวออกมาว่า “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” แต่ในปัจจุบันประ เทศชาติและประชาชนชาวไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากราคาก๊าซถูกกว่าเพื่อนบ้านลิตร
ละ 2-3 บาทเท่านั้น ผลประโยชน์มหาศาลกลับไปอยู่ที่บริษัทน้ำมันต่างชาติ หรือหน่วยงานพลัง
งานบางแห่งที่มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการแม้จะมีชื่อเป็นไทยก็ตาม คลิ๊กดูรายละเอียดเพิ่มเติม